วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ดาวอังคาร


ดาวอังคาร
ดาวอังคาร เป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 4 ชื่อละตินของดาวอังคาร (Mars) มาจากชื่อเทพเจ้าแห่งสงครามของโรมัน หรือตรงกับเทพเจ้า Ares ของกรีก เป็นเพราะดาวอังคารปรากฏเป็นสีแดงคล้ายสีโลหิต บางครั้งจึงเรียกว่า "ดาวแดง" หรือ "Red Planet" (ความจริงมีสีค่อนไปทางสีส้มอมชมพูมากกว่า) สัญลักษณ์แทนดาวอังคาร คือ เป็นโล่และหอกของเทพเจ้ามาร์ส ดาวอังคารมีดาวบริวารหรือดวงจันทร์ขนาดเล็ก 2 ดวง คือ โฟบอสและไดมอส โดยทั้งสองดวงมีรูปร่างบิดเบี้ยวไม่เป็นรูปกลม ซึ่งคาดกันว่าอาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่หลงเข้ามาแล้วดาวอังคารคว้าดึงเอาไว้ให้อยู่ในเขตแรงดึงดูดของตน
ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์หิน (terrestrial planet) มีชั้นบรรยากาศเบาบาง พื้นผิวมีลักษณะคล้ายคลึงทั้งหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์ และภูเขาไฟ หุบเขา ทะเลทราย และบริเวณน้ำแข็งขั้วโลก บนโลก ดาวอังคารมีภูเขาที่สูงที่สุดในระบบสุริยะคือ ภูเขาไฟโอลิมปัส (Olympus Mons) และหุบเขาลึกที่มีชื่อว่า มาริเนริส (Marineris) ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2008 มีบทความ 3 บทความตีพิมพ์ลงในนิตรสาร "Nature" เกี่ยวกับหลักฐานของหลุมอุกกาบาตที่ใหญ่มหึมา โดยมีความกว้าง 8,500 กิโลเมตร ยาว 10,600 กิโลเมตรนอกจากนั้นสิ่งที่ดาวอังคารมีและคล้ายคลึงกับโลกก็คือคาบการหมุนรอบตัวเองและฤดูกาล
ดาวอังคารสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีค่าความส่องสว่างปรากฏอยู่ที่ 3.0 มีเพียงแค่ดาวศุกร์ ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ที่สว่างกว่า
ลักษณะทางกายภาพ
โดยภาพรวมนั้นดาวอังคารมีขนาดที่เล็กกว่าโลก คือมีความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับรัศมีของโลกและมีน้ำหนักเทียบได้กับ 11% ของโลก ปริมาตร 15% ของโลก พื้นที่ผิวทั้งหมดของดาวอังคารยังน้อยว่าพื้นที่ที่เป็นพื้นดินของโลกเสียอีกส่วนสีของดาวที่เห็นเป็นสีส้ม-แดงนั้น เกิดจาก ไอร์ออน(II) ออกไซด์ ซึ่งเป็นที่รู้กันคือ แร่เหล็ก หรือสนิมเหล็กนั่นเอง
 ดาวบริวาร
บริวารของดาวอังคาร มีอยู่ 2 ดวงเป็นดาวขนาดเล็ก นักวิทยาศาสตร์คิดว่าคงเป็นสะเก็ดดาวเคราะห์น้อย ที่ถูกสนามแรงโน้มถ่วงของดาวอังคารจับไว้
ชื่อ
ภาพ
เส้นผ่านศูนย์กลาง (กม.)
น้ำหนัก (กก.)
ค่าเฉลี่ยของรัศมี (กม.)
อัตราการหมุนรอบตัวเองชม.

22.2 27 × 21.6 × 18.8
1.08E+16
9,378
7.66

12.6 10 × 12 × 16
2.0E+15
23,400
30.35


การสำรวจ

8 มีนาคม พ.ศ. 2550 - นายเจฟเฟรย์ แอนดรูวส์-แฮนนาและเพื่อนร่วมงาน แห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ พบหลักฐานสำคัญว่า ครั้งหนึ่งดาวอังคารเคยมีโครงสร้างของระบบน้ำซึม ซึ่งถือเป็นข้อพิสูจน์ชี้ให้เห็นว่าดาวอังคารเคยมีความสัมพันธ์อันสลับซับซ้อนกับองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตมาเป็นเวลานาน
22 กันยายน พ.ศ. 2550 - ยาน 2001 มาร์สโอดิสซีย์ พบสิ่งที่ดูเหมือนถ้ำ 7 แห่ง บริเวณเนินลาดของภูเขาไฟบนดาวอังคาร โดยทางยานได้ส่งภาพของพื้นบริเวณหนึ่งซึ่งมืดและมีลักษณะเป็นทรงกลมที่เชื่อว่าเป็นปากถ้ำ เชื่อว่าภายในเป็นพื้นที่กว้างใต้ดินและน่าจะมีอากาศเย็นกว่าพื้นที่โดยรอบในเวลากลางวัน และอุ่นกว่าในเวลากลางคืน ถ้ำทั้ง 7 นี้ทางนาซาได้ตั้งชื่อให้ว่า "น้องสาวทั้ง 7



1.             มาริเนอร์ 4
2.             มาริเนอร์ 9
3.             มาร์ส 3
4.             ไวกิ้ง
ดาวอังคาร
ดาวอังคาร (Mars)   ดาวเคราะห์วงนอกดวงแรกที่อยู่ถัดจากโลกไปมีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 ปี 11 เดือน ทำให้ตำแหน่งของดาวอังคารเปลี่ยนกลุ่มดาวไปเรื่อยๆ เราจึงมีโอกาสเห็นดาวอังคารตามแนวเส้นสุริยะวิถีตลอดแนวจากขอบฟ้าตะวันออกไปขอบฟ้าตะวันตก ต่างจากดาวพุธดาวศุกร์ที่เราจะเห็นได้แค่เพียงขอบฟ้าเท่านั้น      สิ่งที่เราสนใจมองจากดาวอังคารคือ ขั้วน้ำแข็งและแถบพายุฝุ่นสีดำ เนื่องจากชั้นบรรยากาศของดาวอังคารส่วนใหญ่เป็นก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ซึ่งใสสามามารถมองทะลุผ่านได้ดี จึงเห็นพื้นผิวของดาวอังคารได้ จนเป็นที่น่าสนใจมาตั้งแต่ยุคสมัยที่เริ่มมีการประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ขึ้นใช้   ซึ่งตำแหน่งของดาวอังคารที่เหมาะจะดูก็ช่วงตำแหน่ง Opposition
     ตำแหน่ง Opposition จะเป็นตำแหน่งที่ดาวเคราะห์อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ โดยมีโลกของเราอยู่ตรงกลางระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวเคราะห์ นั่นคือจะเป็นตำแหน่งที่ดาวอังคารอยู่ใกล้โลกที่สุด โดยมีระยะทางใกล้สุดประมาณ 55 ล้านกิโลเมตร ซึ่งบันทึกไว้เมื่อ 22 สิงหาคม พศ.2467 แต่ระยะห่างนี้จะเปลี่ยนแปลงเพราะวงโคจรของดาวเคราะห์เป็นวงรี ล่าสุดการเข้าใกล้ของดาวอังคารที่สุดเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พศ.2546 และหลังจากนั้นตำแหน่ง Opposition ของดาวอังคารก็ไม่มีตำแหน่งใดที่ใกล้แบบนี้อีกจนกว่าจะถึงปี พศ.2561 ดังนั้นช่วงนี้ถ้าดาวอังคารมาอยู่ที่ตำแหน่ง Opposition อีกก็ไม่ค่อยน่าสนใจเท่าไหร่เพราะอยู่ไกลพอสมควร
 
ดาวอังคารห่างจากดวงอาทิตย์เป็นดวงที่สี่และมีขนาดใหญ่เป็นลำดับเจ็ด
Mars หรือในภาษากรีก เรียกว่า Ares เป็นเทพแห่งสงคราม สาเหตุที่ดาวเคราะห์ได้ชื่อดังกล่าวอาจเนื่องจากสีแดงของดาวเคราะห์ ดาวอังคารในบางครั้งก็เรียกว่าดาวเคราะห์แดง
ดาวอังคารเป็นที่รู้จักกันตั้งแต่ก่อนยุคประวัติศาสตร์ เป็นดาวที่ถูกอ้างถึงในนิยายวิทยาศาสตร์มากที่สุด ก่อนถึงยุคของการสำรวจนักดาราศาสตร์ เชื่อกันว่าดาวอังคารสามารถเป็นที่อาศัยของสิ่งที่มีชีวิตได้ และยังได้สังเกตเห็นเส้นต่างๆตัดกันบนพื้นผิวของดาวอังคาร ที่ทำให้เชื่อว่าเป็นระบบคลองชลประทานที่ถูกสร้างขึ้นโดยผู้ที่มีความชาญฉลาด ทั้งยังพบการเปลี่ยนแปลงสีบนพื้นผิวของดาวอังคารตามฤดูกาลต่างๆ จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์คาดหวังที่จะพบสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร จนกระทั่งเดือนกรกฎาคม ปี 1965 ยานอวกาศ Mariner 4 ได้ไปเก็บภาพพื้นผิวของดาวอังคาร จึงพบว่าบนพื้นผิวของดาวอังคารมีหลุมอุกาบาตมากมายและร่องน้ำที่ไม่แสดงหลักฐานว่าเป็นร่องน้ำที่สร้างขึ้นหรือมีการไหลของน้ำ
วงโคจรของดาวอังคารเป็นวงรี ซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้ อุณหภูมิมีการเปลี่ยนแปลงได้มาก อุณหภูมิเฉลี่ยของดาวอังคารประมาณ 218 K (-55 C, -67F) บริเวณ พื้นผิวดาวอังคารมีอุณหภูมิประมาณ 140 K (-133 C, -207 F) ที่บริเวณ winter pole หรือประมาณ 300 K (27 C, 80 F) ที่ด้านกลางวันของฤดูร้อน
ถึงแม้ว่าดาวอังคารจะมีขนาดเล็กกว่าโลก แต่พื้นผิวมีขนาดใกล้เคียงกับพื้นผิวบนโลก
พื้นที่ราบบนดาวอังคารมีที่น่าสนใจอยู่หลายแห่ง เช่น Olympus Mons เป็นเขาที่สูงสุดในระบบสุริยะ สูงถึง 24 กิโลเมตร วางตัวอยู่บนพื้นที่ราบ มีเส้นผ่าศูนย์กลางที่ฐานประมาณ 500 กิโลเมตร และขอบมีความสูงประมาณ 6 กิโลเมตร
Tharsis เป็นเนินที่อยู่บนพื้นผิวดาวอังคาร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4000 กิโลเมตร สูงประมาณ 10 กิโลเมตร
Valles Marineris เป็นหุบเขายาวประมาณ 4000 กิโลเมตร และลึก 2 ถึง 7 กิโลเมตร
Hellas Planitia เป็นหลุมอุกาบาตที่อยู่ในบริเวณ ซีกดาวด้านใต้ ลึกประมาณ 6 กิโลเมตร และ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2000 กิโลเมตร
พื้นผิวโดยทั่วไปของดาวอังคารมีอายุเก่าแก่และเต็มไปด้วยหลุมอุกาบาต แต่ก็มีบางบริเวณที่เป็นหุบเขา เป็นสันเขา หรือที่ราบ ที่มีอายุน้อย
ซีกดาวด้านใต้ของดาวอังคาร เต็มไปด้วยหลุมอุกาบาตที่มีอายุแก่มากมาย บางครั้งดูคล้ายดวงจันทร์ ส่วนซีกดาวด้านเหนือ เป็นที่ราบที่มีอายุอ่อน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับความสูงอย่างมากของพื้นผิว ในบริเวณรอยต่อ ซึ่งเหตุผลที่จะนำมาใช้อธิบายยังไม่ชัดเจน ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์เริ่มสงสัยว่า เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับความสูงอย่างมากบนพื้นผิวดางอังคารจะเป็นจริงได้หรือไม่ ซึ่งต้องสำรวจกันต่อไป
โครงสร้างภายในของดาวอังคารได้จากการสันนิษฐานจากข้อมูลผิวดิน แกนกลางซึ่งมีความหนาแน่นสูงมีรัศมีประมาณ 1700 กิโลเมตร ส่วนของ mantle ซึ่งหลอมเหลวอาจมีความหนาแน่นมากกว่า mantle ของโลก และมีชั้นเปลือกที่บาง เมื่อเปรียบเทียบกับดาวเคราะห์ดวงอื่นๆแล้ว ดาวอังคารเป็นดาวที่มีความหนาแน่นน้อย ซึ่งอาจบ่งบอกว่าแกนกลางของดางอังคารอาจมีปริมาณกำมะถันปนอยู่กับเหล็กสูง
บนดาวอังคารไม่มีปรากฏการณ์ทางเพลตเทคโทนิคส์ จึงไม่พบหลักฐานที่แสดงถึงการเคลื่อนที่ของแผ่นดินในแนวราบที่ทำให้พื้นผิวเกอดการคดโค้งดั่งเช่นที่เกิดกับพื้นผิวโลก และเนื่องจากการที่ไม่พบการเคลื่อนที่ของแผ่นดินในแนวราบทำให้ hot-spots ทั้งหลายจึงอยู่ในตำแหน่งที่คงที่เมื่อเปรียบเทียบกับตำแหน่งของพื้นผิว ในปัจจุบันบนดาวอังคารไม่พบหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการเกิด volcanic activity แต่ในอดีตที่ผ่านมาอาจมี volcanic activity เกิดขึ้นบ้าง แต่ก็ไม่พบหลักฐานที่แสดงให้เห็นนว่าเคยมีปรากฏการณ์ทางเพลตเทคโทนิคส์
มีหลักฐานที่ชัดเจนแสดงให้เห็นถึงการเกิด การกัดกร่อน (erosion) ในหลายบริเวณ รวมทั้งการเกิดน้ำท่วม และระบบทางน้ำเล็กๆ ดาวอังคารในอดีตอาจเคยมีทางน้ำไหลอยู่บนพื้นผิวของดาวอังคาร อาจเคยมีทะเลสาบหรือมหาสมุทร แต่ดูเหมือนว่าจะเกิดขึ้นเป็นระยะเวลาสั้นๆเมื่อเวลาเนินนานมาแล้ว อายุของการกัดกร่อนประมาณว่ามีอายุราว 4 พันล้านปี
ในช่วงแรกของการเกิดดาวอังคาร คาดว่าดาวอังคารน่าจะมีลักษณะที่คล้ายกับโลก โดยที่บรรยากาศประกอบไปด้วยคาร์บอนไดออกไซด์และเกิดการรวมตัวกลายเป็นหินคาร์บอเนต แต่การที่ดาวอังคารไม่มีปรากฏการณ์ทางเพลตเทคโทนิคส์ ทำให้ไม่เกิดการหมุนเวียนของคาร์บอนไดออกไซด์ ไม่เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก ทำให้อุณหภูมิบนพื้นผิวของดาวอังคารต่ำกว่าบนโลก
ดาวอังคารมีชั้นบรรยากาศที่เบาบางมาก ประกอบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์เป็นส่วนใหญ่ (95.32%) ไนโตรเจน (2.7%) อาร์กอน (1.6%) ออกซิเจน (0.13%) น้ำ (0.03%) และ นีออน (0.00025%) ความดันเฉลี่ยบนพื้นผิวดาวอังคารประมาณ 7 ล้านมิลิบาร์ (น้อยกว่า 1% ของบนพื้นโลก) แต่ค่าความดันนี้เปลี่ยนแปลงได้มากขึ้นอยู่กับระดับความสูง ในบริเวณที่เป็นแอ่งที่ลึกที่สุดอาจมีค่าความดันที่ 9 มิลลิบาร ในขณะที่ยอดเขา Olympus Mons มีค่าความดันที่ 1 มิลลิบาร์ แต่ความดันนี้ก็เพียงพอที่จะควบคุมลมที่แรงมากและพายุฝุ่นที่พัดอยู่ทั่วทั้งดางเคราะห์เป็นเวลาหลายๆเดือน บรรยากาศที่เบาบางของดาวอังคารสามารถทำให้เกิดปรากฏารณ์เรือนกระจกได้เช่นกันแต่ก็ทำได้เพียงทำให้อุณหภูมิพื้นผิวสูงขึ้นประมาณ 5 K ซึ่งน้อยกว่าที่เกิดขึ้นบนโลกและดาวศุกร์
ดาวอังคารมีน้ำแข็งปกคลุมอยู่ที่ขั้วทั้งสองของดาว ซึ่งประกอบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์หรือน้ำแข็งแห้งเป็นส่วนใหญ่ ขั้วน้ำแข็งนี้แสดงลักษณะโครงสร้างที่เป็นชั้นซึ่งบอกให้เห็นถึงความแตกต่างของปริมาณฝุ่น ในฤดูร้อนบริเวณที่เป็นขั้วเหนือ น้ำแข็งแห้งจะละเหิดกลายเป็นไอหมดทิ้งไว้แต่น้ำแข็ง ในขณะที่ขั้วใต้มักจะหลงเหลือน้ำแข็งแห้งบางส่วนไว้ กระบวนการที่ทำให้เกิดโครงสร้างเป็นชั้นนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงค่าการเอียงตัว (inclination) ของเส้นศูนย์สูตร กับระนาบของวงโคจร ซึ่งอาจทำให้มีน้ำแข็งหลงเหลืออยู่ใต้ผิวดินที่ระดับความสูงต่ำๆ การเปลี่ยนแปลฤดูกาลที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขั้วน้ำแข็ง ทำให้ความดันบรรยากาศเปลี่ยนแปลงไปประมาณ 25%
การสำรวจสิ่งมีชีวิตบนพื้นผิวดาวอังคารโดยยานอวกาศ Viking ในปี 1976 มีหลักฐานที่นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่าไม่มีสิ่งมีชีวิตอยู่บนดาวอังคาร แต่ก็เป็นเพียงการเก็บตัวอย่างเล็กๆ 2 ตัวอย่างเพื่อทำการศึกษา และอาจเป็นตำแหน่งที่ยังไม่เหมาะสมก็ได้ การศึกษายังต้องดำเนินการต่อไปในอนาคต
อุกาบาตขนาดเล็กๆเป็นจำนวนมากที่เชื่อว่ามาจากดาวอังคาร และในเดือนสิงหาคม 1996 David McKey และคณะได้ศึกษาอุกาบาตที่เชื่อว่ามาจากดาวอังคารและพบสารประกอบอินทรีย์ และเมื่อศึกษาเพิ่มเติมร่วมกับลักษณะของแร่ต่างๆที่พบในหิน อาจเป็นหลักฐานที่อาจเชื่อได้ว่าเป็นสารชีวภาพขนาดเล็ก (microorganisms) ของดาวอังคารในอดีต แต่หลักฐานดังกล่าวก็ยังไม่สามารถที่จะใช้ยืนยันได้ว่าเคยมีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นนอกโลก
บนดาวอังคารพบว่ามีสนามแม่เหล็กซึ่งมีความเข้มสูง แต่พบเฉพาะแห่ง ซึ่งอาจเป็นสนามแม่เหล็กคงค้างของสนามแม่เหล็กที่เคยมีอยู่ในอดีต แต่ในปัจจุบันไม่มีแล้ว ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจช่วยในการศึกษาถึงโครงสร้างภายในของดาวอังคาร บรรยากาศในอดีต และ ความเป็นไปได้ที่เคยมีสิ่งมีชีวิตในอดีต
ดาวอังคารมีดาวบริวาร 2 ดวงคือ Phobos และ Deimos




ดาวอังคารใกล้โลก
นับจากเวลาประมาณ 19.00 น. ไปจนถึงเช้ามืดก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น เราจะมองเห็นดาวอังคารสว่างข่มแสงดาวดวงอื่น ๆ บนท้องฟ้า ปีนี้เป็นที่ค่อนข้างพิเศษสำหรับดาวอังคาร เนื่องจากวันที่ 27 สิงหาคม 2546 ตัวเลขระยะห่างระหว่างโลกกับดาวอังคารบ่งบอกว่าโลกและดาวอังคารมีระยะใกล้กันมากที่สุดในรอบหลายหมื่นปี แต่อย่างไรก็ดีโดยปกติดาวอังคารจะใกล้โลกเป็นพิเศษอยู่แล้วทุก ๆ ประมาณ 15 ปี หรือ 17 ปี เพียงแต่ปีนี้จะใกล้มากขึ้นอีกเล็กน้อย นักดาราศาสตร์สมัครเล่นและผู้สนใจควรจะหาเวลาในช่วงนี้ที่จะดูดาวอังคารก่อนจะถึงวันที่ดาวอังคารเข้าใกล้โลกที่สุด เนื่องจากในช่วงเวลานั้น อาจมีโอกาสที่จะดูดาวอังคารได้ไม่มากนักเพราะท้องฟ้าอาจปิดเนื่องจากเมฆฝน
โลกและดาวเคราะห์ในระบบสุริยะโคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบที่แตกต่างกัน เราเรียกจังหวะเวลาที่ดวงอาทิตย์ โลก และดาวอังคารโคจรมาอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกันโดยมีโลกอยู่ตรงกลางว่าดาวอังคารมาอยู่ ณ ตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ช่วงเวลาที่ดาวอังคารใกล้โลกมากที่สุดนั้น ดาวอังคารจะขึ้นทางทิศตะวันออกขณะที่ดวงอาทิตย์ตกทางทิศตะวันตก และปรากฏอยู่บนฟ้าตลอดทั้งคืนจนกระทั่งคล้อยต่ำลงและตกทางทิศตะวันตกขณะที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกในเวลาเช้ามืด โดยเฉลี่ยดาวอังคารจะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ทุก ๆ ประมาณ 2 ปี
แต่ละครั้งที่ดาวอังคารอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ดาวอังคารจะมีระยะห่างจากโลกไม่เท่ากัน สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากดาวอังคารมีวงโคจรที่เป็นวงรีค่อนข้างมาก ขณะที่ดาวอังคารอยู่ที่ตำแหน่งใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด ดาวอังคารจะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 207 ล้านกิโลเมตร แต่เมื่อถึงตำแหน่งไกลดวงอาทิตย์ที่สุด ดาวอังคารจะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 249 ล้านกิโลเมตร ดังนั้นหากดาวอังคารมาอยู่ ณ ตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในช่วงเวลาใกล้เคียงกับที่มันเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด ดาวอังคารก็จะมีระยะห่างที่ใกล้โลกมากเป็นพิเศษ ซึ่งทำให้ดาวอังคารสว่างและมีขนาดใหญ่กว่าในช่วงเวลาอื่น ๆ เมื่อดูด้วยกล้องโทรทรรศน์ ครั้งล่าสุดที่เกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้ คือ เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2531 และจะเกิดขึ้นอีกครั้งในปลายเดือนสิงหาคมของปีนี้
นิตยสารดาราศาสตร์ Sky & Telescope ฉบับเดือนมิถุนายนรายงานว่า ข้อมูลผลคำนวณโดยนักดาราศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านกลศาสตร์ท้องฟ้าในอิตาลีแสดงว่า ดาวอังคารเคยเข้าใกล้โลกมากกว่าการเข้าใกล้ในปีนี้เมื่อปี 57,617 ก่อนคริสต์ศักราช และจะเข้าใกล้มากกว่าครั้งนี้อีกเล็กน้อยในปี ค.ศ. 2287 นั่นหมายความว่าโลกและดาวอังคารไม่เคยเข้าใกล้กันมากเท่านี้มาเกือบ 60,000 ปีแล้ว แม้ว่าข้อมูลดังกล่าวดูจะน่าตื่นเต้น แต่ความจริงก็คือ ในทางปฏิบัติขนาดปรากฏที่มองเห็นได้นั้นไม่ต่างกันหรือมีนัยสำคัญที่พิเศษกว่ากันมากมายแต่อย่างใด หลังจากนี้ไป เรายังสามารถมองเห็นดาวอังคารด้วยขนาดปรากฏใกล้เคียงกับปีนี้ในอีก 15 ปีข้างหน้า
ในอดีตซึ่งเป็นยุคสมัยที่ไม่มีกล้องโทรทรรศน์ที่มีประสิทธิภาพสูงอย่างกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล หรือยานอวกาศที่ไปโคจรรอบดาวอังคารอย่างในปัจจุบัน นักดาราศาสตร์จะใช้ช่วงเวลาที่ดาวอังคารใกล้โลกในการสังเกตร่องรอยและทำแผนที่พื้นผิวดาวอังคาร พร้อมทั้งศึกษาการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลบนดาวอังคารจากสีสัน ขนาดของผืนน้ำแข็งที่ขั้วดาวอังคาร และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อที่จะทำความเข้าใจถึงธรรมชาติของดาวอังคารให้ได้มากที่สุด
ท่านที่ไม่มีกล้องโทรทรรศน์หรือไม่รู้จักกลุ่มดาวบนท้องฟ้าก็สามารถมองเห็นดาวอังคารได้ด้วยตาเปล่าและไม่ยากเกินไป เพราะปีนี้ดาวอังคารจะเป็นดาวเคราะห์ที่สว่าง ปรากฏมีสีส้มไม่กระพริบแสงหรือกะพริบน้อยมากต่างจากดาวฤกษ์ทั่วไป ต้นเดือนสิงหาคมดาวอังคารจะขึ้นเหนือท้องฟ้าก่อนเวลา 21.00 น. ทางทิศตะวันออกค่อนไปทางทิศใต้เล็กน้อย แล้วเคลื่อนสูงขึ้นจนไปอยู่สูงบนท้องฟ้าทางทิศใต้ในเวลาประมาณ 2.00 น. และเริ่มคล้อยต่ำลงไปทางทิศตะวันตกในเวลาเช้ามืด แต่ในช่วงปลายเดือนสิงหาคม จะเริ่มเห็นดาวอังคารได้ตั้งแต่เวลาก่อน 19.00 น. เล็กน้อย และอยู่สูงสุดบนท้องฟ้าในเวลาราวเที่ยงคืนครึ่ง
ระยะห่างและขนาดปรากฏของดาวอังคารขณะใกล้โลกมากที่สุด พ.ศ. 2531-2561
วัน เดือน ปี
เวลา (ไทย)
ระยะห่าง
(AU)*
ขนาดปรากฏ
(พิลิปดา)
โชติมาตร
22 กันยายน 2531
10 น.
0.39315
23.81
-2.7
20 พฤศจิกายน 2533
11 น.
0.51692
18.11
-2.0
3 มกราคม 2536
20 น.
0.62609
14.95
-1.4
11 กุมภาพันธ์ 2538
21 น.
0.67569
13.85
-1.2
21 มีนาคม 2540
0 น.
0.65938
14.20
-1.3
2 พฤษภาคม 2542
0 น.
0.57846
16.18
-1.6
22 มิถุนายน 2544
6 น.
0.45017
20.79
-2.3
27 สิงหาคม 2546
17 น.
0.37272
25.11
-2.9
30 ตุลาคม 2548
10 น.
0.46406
20.17
-2.3
19 ธันวาคม 2550
7 น.
0.58935
15.88
-1.6
28 มกราคม 2553
2 น.
0.66398
14.10
-1.3
6 มีนาคม 2555
0 น.
0.67368
13.89
-1.2
14 เมษายน 2557
20 น.
0.61756
15.16
-1.4
31 พฤษภาคม 2559
4 น.
0.50321
18.60
-2.0
31 กรกฎาคม 2561
15 น.
0.38496
24.31
-2.8